Home

Praween Siritanasak

ประวีณ สิริธนศักดิ์

welcome to my personal space

ฝนเทียม : rain making

ก่อนอื่น บทความนี้เป็นการเขียนภาษาไทยแบบวิชาการยาว ๆ ครั้งแรกหลังที่ไม่ได้เขียนมานานมากแล้ว การเว้นวรรค กับการใช้คำอาจจะไม่เรียบร้อยมาก ขออภัย ณ ที่นี้ disclaimer: ผู้เขียนไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางนี้โดยตรง แต่อาศัยความรู้จากการอ่านบทความวิชาการและการแนะนำจาก Siraphob Boonvanich (น้องเกน) เอามาฝากให้อ่าน ต้องมารู้จักที่มาที่ไปของฝนเทียมก่อนที่จะมาเข้าใจขบวนการทำฝนเทียม และปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการทำฝนเทียม ฝนเทียมเริ่มมีการทำครั้งแรกปี 1946 Schaefer ได้ทำการโปรยน้ำแข็งแห้ง 1.5 kg ที่เมฆ lenticular stratocumulus บริเวณ ทางตะวันตกของรัฐ Massachusetts แล้วพบว่าหลังจากทำการโปรยเป็นเวลา 5 นาทีได้เกิด snowflake ตกลงมาที่อากาศแห้ง ข้างใต้ [1] นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีคนเริ่มทำฝนเทียม ฝนเทียม ไม่ใช้การเสกฝนขึ้นมาจากอากาศ แต่ถือว่าเป็นการพยายามทำให้ ฝนมีการตกมากขึ้นจาก เมฆที่มีอยู่แล้วบนท้องฟ้า โดยหลักการที่ทำนั้น เรียกกันโดยทั่วไปว่า cloud seeding เพราะฉะนั้น ปัจจัยที่สำคัญของการทำฝนเทียมคือ ในบริเวณนั้นมีเมฆ ที่มากเพียงพอที่จะทำให้เกิดฝนตก ในทางหลักการแล้ววิธีการทำฝนเทียมโดยใช้ cloud seeding นั้นเป็นไปได้…

Hello world

Since this is my first post, I suppose start with a self-introduction, right? If you are curious who I am, please check about me. goodbye!